วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ จิตวิทยาการศึกษา (Education Psychology)

จิตวิทยาการศึกษา 
( Education Psychology ) 

ความหมายและความเป็นมาของจิตวิทยา

          วิชาจิตวิทยากำเนิดเริ่มต้นมาจากต่างประเทศเมื่อหลายปีมาแล้ว คำว่าจิตวิทยา Psychology
มีรากศัพท์มาจาก

          Psyche - - - - - - - Psycho = วิญญาณ (Soul)
          Logos - - - - - - - - logy     = การศึกษา Psycho + logy - - - - - Psychology  
จึงหมายถึง วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต

ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19
หลังคริสต์ศตวรรษที่ 19
     จิตวิทยา วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิญญาณหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิต (Psychology)
     วิลเฮล์น แมกซ์วุ้นต์ ( Wilhelm Max Wundt ) เป็นคนที่เปิดห้องทดลองจิตวิทยาแห่งแรกของโลก ที่มหาวิทยาลัย ไลป์ซิก ( Leipzing ) จึงได้สมญานามว่า บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง
     จิตวิทยา คือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์ (Psychology is the study of Bahavior )
     วัตสัน ( Wetson ) เป็นคนแรก
ที่ให้ความหมาย จิตวิทยาเป็น พฤติกรรม ( Bahavior ) จนมีความหมายมาถึงปัจจุบันว่า วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์ จึงได้สมญานามว่า บิดาแห่งพฤติกรรม บิดาแห่งจิตวิทยายุคใหม่



สาขาของจิตวิทยา

          1. จิตวิทยาสังคม (Social Psychology ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิด
จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ หรือกับสังคม
          2. จิตวิทยาพัฒนาการ ( Developmental ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ 
ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
          3. จิตวิทยาการเรียนการสอน ( Psychology in Teaching and Learning ) เป็นการ
ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเรียนการสอนและสิ่งที่ส่งเสริมให้บุคคลได้เกิดการเรียนรู้
          4. จิตวิทยาคลีนิค ( Clinical Psychology ) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมผิด
ปกติของมนุษย์ และวิธิการบำบัดรักษา
          5. จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning ) เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ 
และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
          6. จิตวิทยาประยุกต์ ( Applied Psychology ) เป็นการนำหลักการต่าง ๆ ทางจิตวิทยามา
ใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ เช่น ธุรกิจ อุตสาหกรรม การเมือง การติดต่อสัมพันธ์กับบุคคล
อื่น ๆ
          7. จิตวิทยาทั่วไป ( General Psychology ) เป็นการนำเอาหลักทั่วไป ทางจิตวิทยาไปใช้
เป็น พื้นฐานทางการศึกษา จิตวิทยาสาขาอื่น ๆ และในการประกอบอาชีพทั่ว ๆ ไป หรือใช้ในการดำรง
ชีวิตประจำวัน 


        จิตวิทยาการศึกษา ( Education Psychology) วิชาที่ศึกษาพฤติกรรม
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเรียนการสอน โดยเน้นพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาความ
สามารถของผูเรียน ตลอดจนวิธีการนำความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดขึ้นประยุกต์ใช้ในการสอนให้ได้ผลดี 



ความมุ่งหมายและประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา มีดังนี้
     1. จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ในการเรียน
การสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 
3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ
     2. ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ 
ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก
     3. ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง
     4. ปกครองและการแนะแนว ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ใน
ระเบียบ เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม 


พฤติกรรม ( Behavior)
       การกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่ารู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าผู้อื่นจะสังเกตการกระทำ
ได้หรือไม่ก็ตาม การยิ้ม การหัวเราะ ดีใจ เสียใจ การคิด การฝัน การเต้นของหัวใจ 

       พฤติกรรม แบ่งเป็น ประเภท

   พฤติกรรมภายนอก
(
Overt Bahavior )
พฤติกรรมภายใน 
( Covert Bahavior )
            พฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้โดยตรง หรือใช้เครื่องมือวัดได้ เช่น การพูด การเดิน ฯ แบ่งได้ 2 ประเภท
1. พฤติกรรมโมลาร์ ( Molar B.) วัดได้
โดยตรงจากประสาทสัมผัส ทั้ง 5 เช่น 
การเดิน การนั่ง
2. พฤติกรรมโมเลกุล ( Molecula B.) 
ไม่สามารถวัดได้โดยประสาทสัมผัส 
แต่วัดได้โดยเครื่องมือ เช่น วัดการเต้น
ของหัวใจ
             พฤติกรรมที่ไม่สามารถวัดโดยตรง และเครื่องมือก็ไม่สามารถวัดได้ ต้องอาศัยการอนุมาน จากพฤติกรรมภายนอก เช่น การจำ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ




       แนวคิดของนักจิตวิทยา

       
       แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
              1. กลุ่มโครงสร้างจิต (Structuralism) 
                     - วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt)
                     - ทิชเชนเนอร์ (Titchener) 

                     - เฟชเนอร์ ( Fechner)



                     วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt) เป็นคนแรกที่ตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้น ที่เมือง 
ไลป์ซิก เป็นการเริ่มต้นการศึกษาจิตวิทยาตามวิธีการวิทยาศาสตร์ จึงได้ชื่อว่า บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง  Wundt เชื่อว่าจิตมนุษย์ประขึ้นด้วยลักษณะเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า 
จิตธาตุ (Mental element) 2 ส่วน คือ
                     1. การสัมผัส (Sensation)
                     2. ความรู้สึก (Feeling) ต่อมา ทิชเชนเนอร์ (Titchener) ได้เพิ่มโครงสร้างจิตอีก
ส่วน คือ
                     3. จิตนาการ (Image)
                     กลุ่มโครงสร้างจิตจะวัดและบันทึกกระบวนการต่าง ๆ โดยวิธีที่เรียกว่า Introspection 
(การสังเกตพฤติกรรมที่เกิดกับตนเอง แล้วอธิบายเกี่ยวกับปฏิกิริยาของตนต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทางประสาทสัมผัส ศึกษาจิตสำนึก (Consciousness)
                     แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา จิตของคนแยกเป็นส่วน ๆ ทำให้เกิดแนวคิดว่า 
ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ส่วนไหนมีความสามารถหรือทักษะด้านใด ก็ฝึกส่วนนั้นมากเป็นพิเศษ เช่น 
ครูต้องการให้นักเรียนผู้นั้นมีความจำ ก็ให้ผู้เรียนเรียนสิ่งที่ต้องอาศัยความจำ


              2. กลุ่มหน้าที่จิต (Functionalism)
                     - จอน์ ดิวอี้ (John Dewey)
                     - วิลเลียม เจมส์ (Williaam James) 
                     - วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH)


จอน์ ดิวอี้ (John Dewey)

                     กลุ่มหน้าที่จิต พยายามหาคำตอบว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์มีการปรับตัวเข้ากับ
สิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าสัตว์ และยังเน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์
                     จอน์ ดิวอี้ (John Dewey) มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการกระทำ (Learning by doing) ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญในการปรับตัวของมนุษย์
                     วิลเลียม เจมส์ (Williaam James) สัญชาตญาณเป็นส่วนที่ทำให้เราปรับตัวเข้ากับ
สิ่งแวดล้อม
                     วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา วิธีการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์มากที่สุด วิธีการเรียน
การสอนแบบแก้ปัญหา


              3. กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behavior) - วัตสัน (John B.Watson)
                     - พาฟลอฟ (Ivan P.Pavlov)
                     - ธอร์นไดค์ (Edward L.Thorndike) 
                     - ฮัล (Clark L.Hull)
                     - โทลแมน (Edward C.Tolman)


พาฟลอฟ (Ivan P.Pavlov)
                     นักจิตวิทยากลุ่มนี้ศึกษาเฉพาะ พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ สาเหตุมาจากสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์ จะมีพฤติกรรมแสดงออกมา เรียกว่าการตอบสนอง(Respones)
                     แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา เป็นแนวทางในการควบคุมพฤติกรรมและการจัดสถาพการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน


              4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) - ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
                     - แอดเลอร์ (Alfred Adler)
                     - จุง (Carl G.Jung)


ฟรอยด์ (Sigmund Freud)

                     ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) แบ่งลักษณะจิตเป็น 3 ส่วน
                      1. จิตสำนึก (Conscious) แสดงความรู้ตังตลอดเวลา
                      2. จิตใต้สำนึก (Subconscious) รู้ตัวตลอดเวลาแต่ไม่แสดงออกในขณะนั้น
                      3. จิตไร้สำนึก (Unconscious)
                      ฟรอยด์เน้นความสำคัญเรื่อง จิตใต้สำนึก (Subconsious) ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจต่าง ๆ และการศึกษาเรื่องพัฒนาบุคลิกภาพกับโครงสร้างของบุคลิกภาพจิตของมนุษย์แยกเป็น 3 ลักษณะ
                     1. (Id) ส่วนที่ยังไม่ได้ขัดเลา แสวงหาความสุขความพอใจโดยถือตัวเองเป็นหลัก
                     2. (Superego) ส่วนที่ได้มาจากการเรียนรู้เป็นส่วนที่คิดถึงผิดชอบชั่วดี คิดถึงคนอื่นก่อนตัดสินใจอะไรลงไป
                     3. (ego) ส่วนที่เป็นตัวตัดสินใจโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงในสภาพการณ์นั้น ๆ ทำความประนีประนอมระหว่างส่วนที่ยึดความสุขส่วนตัว กับส่วนที่รู้จักผิดชอบชั่วดี
                     แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ใช้อธิบายเรื่องอิทธิพลของการพัฒนาในวัยเด็กที่มีผลต่อบุคลิกตอนโต


              5. กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
                     - เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer) 
                     - คอฟกา (Kurt Kofga)
                     - เลอวิน (Kurt Lewin)
                     - โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)


เลอวิน (Kurt Lewin)

                     Gestalt นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวม
จะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ ถ้าจะให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ต้องมีประสบการณ์เดิม พฤติกรรมการเรียนรู้
มี 2 ลักษณะ
                     1. การรับรู้ (Perception) เป็นพื้นฐานให้เกิดการเรียนรู้
                     2. การเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง การแก้ปัญหาของคนเราขึ้นอยู่กับ 
การหยั่งเห็น (Insight) เมื่อมีการการหยั่งเห็นเมื่อใดก็สามารถแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น
                     แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ช่วยในเรื่องการรับรู้และการเรียนรู้ของคนและนำไป
ใช้ได้มากในการจัดการเรียนการสอน


              6. กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism) 
                     - คาร์ล โรเจอร์ (Carl R.Rogers)
                     - มาสโลว์ (Abrahaham H. Maslow)

มาสโลว์ (Abrahaham H. Maslow)

              ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow,1962)
              ทฤษฎีการเรียนรู้
              1. มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น คือ  ขั้นความต้องการทาง
ร่างกาย(physical need)   ขั้นความต้องการความมั่นคงปลอดภัย(safety need)   ขั้นความต้องการความรัก(love need)   ขั้นความต้องการยอมรับของตนอย่างเต็มที่ (self-actualization) 
หากความต้องการขั้นพื้นฐานดีรับการตอบสนองอย่างพอเพียงสำหรับตนในแต่ละขั้น มนุษย์จะสามารถ
พัฒนาตนไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น
              2. มนุษย์มีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง ประสบการณ์ที่เรียกว่า “peak experience” เป็นประสบการณ์ของบุคคลที่อยู่ในภาวะดื่มด่ำจากการรู้จักตนเองตรงตามสภาพความ
เป็นจริง มีลักษะน่าตื่นเต้น เป็นความรู้สึกปีติ เป็นช่วงเวลาที่บุคคลเข้าใจเรื่องหนึ่งอย่างถ่องแท้ เป็นสภาพ
ที่สมบูรณ์ มีลักษณะผสมผสานกลมกลืน เป็นช่วงเวลาแห่งการรู้จักตนเองอย่างแม้จริง บุคคลที่มีประสบการณ์เชนนี้บ่อยๆจะสามารถพัฒนาตนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

              หลักการจัดการศึกษา/การสอน
              1. เข้าใจถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ สามารถช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลได้ 
เนื่องจากพฤติกรรมเป็นการแสดงออกของความต้องการของบุคคล
              2. จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี จำเป็นต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
ที่เขาต้องการเสียก่อน
              3. ในกระบวนการเรียนการสอน หากรูสามารถหาได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการอยู่
ในระดับใดขั้นใด ครูสามารถใช้ความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนนั้นเป็นแรงจูงใจ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ได้
              4. การช่วยให้ผู้เรียนได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนอย่างพอเพียง การให้
อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน
เกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตรงตามสภาพความเป็นจริง


              ทฤษฎีการเรียนรูของโรเจอร์ส(Rogers,1969)
              ทฤษฎีการเรียนรู้
              มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาพการณ์ที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัด
บรรยากาศการเรียนที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้(supportive atmosphere) และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(student-centered teaching) โดยครูใช้วิธีการสอนแบบชี้แนะ(non-directive) และทำ
หน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน(facilitator) และการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการ(process learning) เป็นสำคัญ

              หลักการจัดการศึกษา/การสอน
              1. การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ไม่น่าหวาดกลัว น่าไว้วางใจ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
              2. ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพและแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองอยู่แล้ว ครูจึงควรสอนแบบชี้แนะ(non-directive) โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตน(self- directive) และคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล

              3. ในการจัดการเรียนการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการ(process learning) เป็นสำคัญ เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญที่บุคคลใช้ในการดำรงชีวิตและแสวงหาความรู้ต่อไป




ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory leaning)

              การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจมี 3 ด้านดังนี้ (ตามหลัก Bloom)
              1. พฤติกรรมด้านสมอง (Cognitive Domain) ได้แก่ ความรู้ จำ ความเข้าใจ
              2. พฤติกรรมด้านจิตใจ (Affective Domain) ได้แก่ อารมณ์ ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ
              3. พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท 

             ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory leaning) แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ
   1. ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Associative) การเรียนรู้โดยมีสิ่งเร้ามาเชื่อมโยงทำให้เกิดการตอบสนองขึ้น แบ่ง 2 กลุ่ม
  • ทฤษฎีความเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism)
    นักทฤษฎี
    Thorndike ,Guthrie ,Hull
  • ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning) แบบคลาสสิค (Classical) ได้แก่ Pavlov
    แบบการกระทำ (
    Operant) ได้แก่ Skinnre
   2. ทฤษฎีความเข้าใจ (สนาม)
ได้แก่ Gestalt
   - เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer)
   - คอฟกา (Kurt Kofga)
   - เลอวิน (Kurt Lewin)
   - โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)




กฎการเรียนรู้ 3 กฎ
       1. กฎแห่งผล (Law of Effect) คือ การเรียนรู้จะเกิดผลดีถ้ามีการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการ
ตอบสนองในลักษณะที่พอใจ
       2. กฎแห่งการฝึก (Law of Exercise) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่ออินทรีย์ได้รับการฝึกฝน
บ่อยครั้ง 
              2.1 กฎแห่งการใช้ (Law of Used) มีการกระทำหรือใช้บ่อย ๆ การเรียนรู้จะยิ่งคงทนถาวร
              2.2 กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disused) ไม่มีการกระทำหรือไม่ใช้การเรียนรู้ก็อาจเกิดการลืมได้
       3. กฎแห่งความพร้อม ((Law of Leadines) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะเรียน
หลักการที่สำคัญของทฤษฎีนี้ ถือว่า รางวัลเป็นสิ่งที่สำคัญทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ วิธีการให้รางวัล
สมควรให้ผู้เรียนให้ทันทีที่ได้กระทำพฤติกรรมนั้น


       ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Skinner’ s Operant Conditioning)
       การทดลอง เอาหนูใส่กล่องเก็บเสียงฝากล่องมีคานยื่นมา เมื่อหนูกดคานจะบังคับอาหารให้หล่นลงมา
หนูต้องทำจึงได้รับ
R (การกดคาน) S (อาหาร)
       การเสริมแรง เป็นหลักในการนำมาสร้างบทเรียนโปรมแกรม หรือบทเรียนสำเร็จรูป (จะมีคำถามและคำตอบ)




       ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ของ Pavlov
       การทดลอง เอาหมาที่กำลังหิวยืนบนแท่นมีที่รั้งไม่ให้สุนัขเคลื่อนที่ เจาะรูเล็ก ๆ ที่แก้มเอาหลอดยาใส่ท่อน้ำลาย
       ผลการทดลองของ ฟาลอฟ 
       ประกอบด้วยวางเงื่อนไข แบบแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข 
= การเรียนรู้
       ถ้าจะให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีต้องมีการวางเงื่อนไขพร้อม ๆ กัน คือให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขในเวลา
พร้อมกัน



กฎการเรียนรู้ 4 กฎ
              1. กฎการลบพฤติกรรม (Law of Extinction) การตอบสนองที่เคยปรากฏจะไม่ปรากฏถ้านำสิ่งเร้านั้นออก
              2. กฎการคืนสภาพเดิม (Law of Spontaneous recovery) หลังจากที่ลบพฤติกรรมนั้น
ไปแล้วจะไม่เกิดพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขนั้นอีก แต่ระยะหนึ่งหรือบางครั้งก็อาจเกิดพฤติกรรมนั้นได้อีก
              3. กฎการสรุปความเหมือน (Law of Generalization) ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติ
คล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไข อินทรีย์จะตอบสนองเหมือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น
              4. กฎการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination) เป็นลักษณะที่ผู้เรียนสามารถ
แยกแยะสิ่งที่แตกต่างกันได้เช่น งูเห่ามีพิษ งูสิงห์ไม่มีพิษ
              ฉะนั้นหลักการสำคัญ Classical Conditioning จะเน้นปฏิกิริยาสะท้อนของมนุษย์ที่เกิดขึ้น และนำเอาปฏิกิริยาสะท้อนเหล่านั้นมาวางเงื่อนไขคู่กับ สิ่งเร้าต่าง ๆ สิ่งเร้าต่าง ๆ จะทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้น


              กฎการเรียนรู้ของกลุ่ม กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
              การเรียนรู้เรียนที่เน้นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ
                     1. การรับรู้ (Perception) การแปลความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัส 5 ส่วน หู- ตา จมูก ลิ้น กาย
                     2. การหยั่งเห็น (Insight) การเกิดความคิดขึ้นมาทันทีทันใดในขณะประสบปัญหา โดยการมองเห็นปัญหาตั้งแต่เริ่มแรก จนแก้ปัญหาได้




              สรุปแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ แต่ละท่านได้ดังนี้
              1. การเรียนรู้แบบหยั่งรู้ (Insight Learning) เจ้าของทฤษฎีคือ โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) โดยจะรวมปัญหาแล้วจึงแยกเป็นข้อย่อย ก็จะเกิดความคิดขึ้นมาทันที ที่เรียกว่าการหยั่งเห็น

                     การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นรวดเร็วขึ้นอยู่กับ
                     1. มีแรงจูงใจ                     2. มีประสบการณ์เดิม                      3. มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับปัญหาได้



              2. หลักการเรียนรู้ของ เลอวิน (Kurt Lewin) ได้แยกมาตั้งทฤษฎีใหม่ ชื่อว่า ทฤษฎีสนาม (Field Theory) การเรียนรู้เกิดจากการสร้างแรงขับให้เกิดขึ้น แล้วพยายามชักนำพฤติกรรมการเรียนรู้
ไปจุดหมายปลายทาง (goal) เพื่อตอบสนองแรงขับที่เกิดขึ้น


การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)
              การเรียนรู้อย่างหนึ่งแล้วมีผลต่อการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่ง อาจมีผลทางบวก ลบ ก็ได้ เช่น 
การเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง ก็สามารถถ่ายโยงไปมีผลกับเรื่องแยกตัวประกอบได้ การถ่ายโยง
จึงเป็นการที่บุคคลนำสิ่งหนึ่งไปใช้กับอีกสิ่งหนึ่ง
              การถ่ายโยงการเรียนรู้มี 2 ประเภท
              1. การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทบวก (Positive Transfer of Learning) การเรียนรู้
สิ่งหนึ่งมีผลกับการเรียนรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางดีขึ้น
    • เรียนคณิตศาสตร์เก่งจะนำไปสู่การเรียน ฟิสิกส์ เคมี ได้ดี
    • การเตะบอล นำไปสู่การเล่นทีม
         2. การถ่ายโยงการเรียนรู้ประเภทลบ (Negative Transfer of Learning) การเรียนรู้สิ่'
หนึ่งมีผลกับการรู้อีกสิ่งหนึ่งในทางเลวลง

    • การขับรถเมืองไทย เลนซ้าย ไปอีกประเทศหนึ่งต้องขับเลนขวา ทำให้ประสิทธิภาพลดลง 



ปัจจัยเสริมการเรียนรู้
              1. แรงขับ (Drive) แรงผลักดันที่เกิดขึ้นภายในร่างกายเพื่อให้ร่ายกายแสดงพฤติกรรมออกมา แรงขับเกิดจากความไม่สมดุลของร่างกายแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
    • แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากสิ่งเร้าภายในมีความสำคัญมาก เช่น หิว กระหาย อยากเรียน
    • แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive) เป็นแรงขับที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก เช่น ต้องการมีชื่อเสียง ต้องการรางวัล
          2. ความพร้อม (Readiness) ความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ พร้อมที่จะตอบสนองกับ
สิ่งที่มาเร้า 
                      - ทางร่างกาย ได้แก่ วุฒิภาวะ (Maturity) 
                      - ทางจิตใจ ได้แก่ ความพอใจ

                     วุฒิภาวะ (Maturity) การบรรลุถึงขั้นความเจริญเติบโตเต็มที่ ในระยะใดระยะหนึ่ง 
และพร้อมที่จะประกอบกิจกรรมได้พอเหมาะกับวัย

                 องค์ประกอบที่ทำให้เด็กเกิดความพร้อมในการเรียน
                     1. วุฒิภาวะ (Maturity) การเจริญทั้งร่างกาย จิตใจ
                         2. ประสบการณ์เดิม (Experience)
                         3. การจัดบทเรียนของครู โดยดูพื้นฐานของเด็กว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
บางมากน้อยเพียงใด
                          4. การสอนของครู ครูควรสอนเมื่อนักเรียนมีความพร้อม และครูเป็นผู้สร้างความพร้อมให้กับนักเรียน


              มาสโลว์ (Maslor) ความต้องการของมนุษย์แบ่งได้ 5 ขั้น
       1. ความต้องการทางร่างกาย หิว กระหาย เพศ
       2. ความต้องการทางความปลอดภัย
       3. ความต้องการทางความรัก
       4. ความต้องการทางเกียรติ ชื่อเสียง
       5. ความต้องการในการยอมรับความสามารถ



              อารมณ์และการปรับตัว (Emotion and Adjustment) 
              เป็นความรู้สึกที่เกิดจากการถูกกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเร้าภายใน แรงขับ สิ่งเร้าภายนอก 
อารมณ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทาง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ
o  อารมณ์ บวก พอใจ ดีใจ
o  อารมณ์ทางไม่ดี โกธร เสียใจ อิจฉา

ความรุนแรงของอารมณ์ขึ้นอยู่กับ
    • สถานการณ์ เช่น อากาศเย็นทำให้อารมณ์ดี
    • สภาพร่างกาย เช่น ร่างกายสมบูรณ์ก็ทำให้อารมณ์ดี
    • ทัศนคติ แนวโน้มที่ชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมทำให้อารมณ์เสียได้ง่าย

              นักจิตวิทยาได้กล่าวถึงกลวิธีในการปรับตัว (Defense mechanism) มีหลายวิธี
การ สรุปได้ดังนี้
              1. การหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง (Rationalization) ไม่ยอมรับตนเองโดยหาเหตุผล
มาลบล้าง เช่น
    • การอ้างว่าชอบหรือไม่ชอบ
    • มะนาวหวาน
    • การโยนความผิดไปให้ผู้อื่น (Projection) เอาความผิดของคนอื่นมาลบล้างความผิดของตน
    • สอบตกแล้วว่าอาจารย์สอนไม่ดี
                     2. การปรับตัวโดยหาสิ่งอื่นมาแทนที่ (Substitution)
o    การชดเชย (Compensation)
o    การทดแทน (Sublimation)

       การชดเชยไม่ต้องแทนสิ่งที่เหมือนกัน การทดแทนแทนด้วยสิ่งที่เหมือนกัน                     1. การเก็บกด (Repression) วิธีการลืมเหตุการณ์หรือความคิดที่ไม่ถูกต้องที่อยู่
ในจิตใต้สำนึก
                     2. การย้ายอารมณ์ (Displacement) เป็นการการย้ายอารมณ์ที่ไม่พอใจจากสิ่ง 
              หนึ่งไปสิ่งหนึ่ง โกธรกับผัวที่บ้า ไประบายอารมณ์กับนักเรียน


              การจูงใจ (Motivation) การกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 
การให้รางวัล
การจูงใจประกอบด้วย 2 ส่วน
    • แรงจูงใจ (Motivation) สภาวะใด ๆ ก็ตามที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมา
    • สิ่งจูงใจ (Incentive) รางวัล
 การจูงใจจะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับ
1. แรงจูงใจภายใน เป็นพฤติกรรมที่บุคคลต้องการเรียนรู้บางสิ่งบางอย่าง
ด้วยตนเอง เช่น ความต้องการ ความสนใจ ทัศนคติ
2. แรงจูงใจภายนอก เป็นพฤติกรรมที่บุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก เร้าให้เกิดความต้องการ เช่น เงินเดือน คำชมเชย


              ทัศนคติ และความสนใจ ความพร้อมของร่างกาย จิตใจที่มีแนวโน้มจะตอบสนอง
ต่อสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ใด ๆ ด้วยการเข้าหาหรือถอยหนี แบ่งเป็น ประเภท
       1. ทัศนคติทางบวกหรือทัศนคติที่ดี แนวโน้มที่จะเข้าหาสิ่งเร้า หรือสถานการณ์นั้น ๆ 
ด้วยความชอบ พอใจ
       2. ทัศนคติทางลบหรือทัศนคติไม่ดี แนวโน้มที่จะถอนหนีสิ่งเร้า หรือสถานการณ์นั้น ๆ 
ด้วยความไม่ชอบ ไม่พอใจ

ลักษณะทั่วไปของทัศนคติ
              1. ทัศนคติที่เกิดจากการเรียนรู้ หรือได้รับประสบการณ์ ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด
              2. ทัศนคติจะเป็นตัวชี้ในการแสดงพฤติกรรม
              3. ทัศนคติไม่สามารถถ่ายทอด จากบุคคลหนึ่งไปอีกบุคคลหนึ่งได้
              4. ทัศนคติสามารถเปลี่ยนแปลงได้
         ทัศนคติจึงเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็ก

              ความสนใจ (Interest) มีลักษณะใกล้เคียงกับทัศนคติ แต่ความสนใจเป็นส่วนหนึ่ง
ของทัศนคติ ความสนใจเป็นความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ทัศนคติทางบวก) ความสนใจของนักเรียน
แต่ละคนมีความแตกต่างกันเพราะ ความต้องการ ถนัด สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน

              การสร้างความสนใจ
1. ศึกษาความต้องการของผู้เรียน เพื่อจัดกิจกรรมการเรียน สื่อต่าง ๆ
2. สำรวจพื้นฐานความถนัด
3. จัดห้อง สภาพแวดล้อมให้น่าสนใจ
4. เสริมแรงโดยพยายามให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จ
5. ชี้ทางความก้าวหน้าในการทำงาน เพื่อให้เขามีความสนใจ
              ความสนใจ ทัศนคติ จึงเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเสริมการเรียนรู้ที่ดีมาก


       มโนภาพ (Concept formation) นักจิตวิทยาเรียกต่างกันไป ความคิดรอบครอบ 
มโนทัศน์กับ Concept การเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

       การจำ (Memory) ความสามารถในการสะสมประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการ
เรียนรู้ แล้วสามารถถ่ายทอดในรูปของการระลึกได้

  การจำต้องประกอบด้วยพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้
       1. การเรียนรู้
       2. ความสามารถในการสะสม รวบรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้
       3. ความสามารถในการถ่ายทอดได้ สามารถเล่า ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้
       4. รู้สึกได้
 5. จำได้ 






//ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล

_______สุชา  จันทร์เอม. จิตวิทยาทั่วไป(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).  กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๔๔
_______สุชา  จันทร์เอม. จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด,  ๒๕๔๒
_______คณาจารย์  ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปะศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.  กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จิตวิทยาทั่วไป, ฉบับพิมพ์ ครั้งที่ 3  (แก้ไขเพิ่มเติม).  ๒๕๔๕
_______โรเบิร์ต อี. ซิลเวอร์แมน.  จิตวิทยาทั่วไป.  กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาจิตวิทยา  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : พิมพ์ครั้งที่ 8.  จามจุรีโปรดักท์ .  ๒๕๔๕
_______คณาจารย์  ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว, จิตวิทยาการเรียนการสอน. คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.  ๒๕๕๓
            
ภาพประกอบจาก Internet